ไมโครเฟ (microwave) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) ที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุ (radio wave) กับอินฟราเรด ( infrared )
มีความถี่ ระหว่าง 300-30,000 MHz
แม็กนิตรอน (magnetron) เป็นส่วนประกอบหลักทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นไมโครเวฟ
คลื่นไมโครเวฟที่นำมาใช้ประโยชน์กับอาหาร มีความถี่ 915 ถึง 2,450 เม็กกะเฮิรตส์ หรือวัดเป็นความถี่ได้ 915 x 106 ถึง 2.45 x 09 รอบต่อวินาทีที่กระทำต่ออาหาร
|
|
ที่มาของรูป http://www.cfs.gov.hk/english/programme/programme_ rafs/programme_rafs_ft_01_02_mcfs.html |
รูปแสดงโมเลกุลของน้ำที่เปลี่ยนทิศสลับไปมาอย่างรวดเร็ว ตามทิศทางของสนามไฟฟ้า |
อาหารใดๆ ที่จะร้อนได้ด้วยไมโครเวฟ จะต้องมีสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ คือ
1. สารที่มีโมเลกุล 2 ขั้ว (dipolar molecules) ยกตัวอย่างเช่น โมเลกุลของน้ำซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว โดยออกซิเจนเป็นขั้วลบและไฮโดรเจนเป็นขั้วบวกน้ำพยายาม
จะเรียงตัวภายใต้สนามไฟฟ้า เมื่อได้รับคลื่นไมโครเวฟซึ่งมีความถี่ที่สูงมาก เหนียวนำให้โมเลกุลของน้ำเปลี่ยนทิศสลับไปมาอย่างรวดเร็ว ตามทิศทางของสนามไฟฟ้า
เกิดการเสียดสีกันระหว่างโมเลกุลของน้ำที่สั่นสะเทือน หรือกับโมเลกุลอื่นๆ ภายในอาหารจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา
2. สารที่มีไอออนอยู่ในของเหลว สนามไฟฟ้าที่เกิดจากคลื่นไมโครเวฟจะทำให้เกิดการเสียดสี (Collisions) ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา
การประยุกต์ใช้ไมโครเวฟในกระบวนการแปรรูปอาหาร
การใช้ไมโครเวฟในการแปรรูปอาหารเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอุตสาหกรรมอาหารได้ประยุกต์ใช้ไมโครเวฟมาในกระบวนการแปรรูปอาหาร ได้แก่
การลวก (blanching)
กระบวนการที่นำไมโครเวฟไปใช้ | ผลิตภัณฑ์ |
การละลายน้ำแข็ง (thawing,tempering) | frozen seafood, meat, fish, butter |
การทำให้สุก (cooking) | bacon, meat,p otato, patties, |
การทำแห้ง (dehydration) | pasta, spice, oion, cereal grain, seaweed, yolk, spice, herb |
การพาสเจอไรซ์ (pasteurization) | |
การสเตอริไรซ์ (sterilization) | milk, prepared food |
การอบ (baking) | bread, doughnut |
การคั่ว (roasting) | tree nut, peanut, coffee, cocoa |
การลวก (blanching) | herb, vegetable, corn, fruit |
การเจียว (rendering) | lard, tallow |
ไมโครเวฟทำให้อาหารร้อนได้ เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนในอาหาร คลื่นไมโครเวฟนำมาประยุกต์ใช้ในการแปรรูปอาหาร เช่น
การลวก (blanching) การละลายอาหารแช่เยือกแข็ง (thawing) การทำแห้ง (dehydration) การฆ่าเชื้อด้วยระบบไมโครเวฟ
ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ
บรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับไมโครเวฟ
วัสดุบรรจุภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่สามารถส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟ (microwave transparency) ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการดูดคลื่นไว้บ้างแล้ว บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท
จะดูดคลื่นไว้แตกต่างกัน ตัวเลขยิ่งสูงหมายความว่าจะดูดพลังงานไมโครเวฟได้มาก โดยปกติคลื่นไมโครเวฟจะใช้คลื่นความถี่ 2,450 MHz แต่ในตารางนี้
เป็นการทดสอบที่ 3,000 MHz ส่วน RF คือ ความถี่คลื่นวิทยุ (radio frequency) ที่ 10 MHz เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการดูดคลื่นที่ความถี่ต่างกัน
ถึงแม้ว่าจะมีการดูดคลื่นไว้บ้างแล้ว ด้วยเหตุนี้จะไม่มีปัญหาอะไรที่จะใช้การฆ่าเชื้อด้วยไมโครเวฟของตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์พร้อมกัน
ความสามารถในการดูดพลังงานจากคลื่นของบรรจุภัณฑ์
วัสดุบรรจุภัณฑ์ |
ดรรชนีความสามารถในการดูดพลังงาน |
|
RF ที่ 10 MHz |
MW ที่ 3,000 MHz |
|
ขวดแก้วแบบทั่วๆ ไป (Soda-lime) กระดาษมีความชื้น 10% กระดาษแข็งมีความชื้น 10% ไนลอน 66 โพลิเอสเตอร์ PE PS PVC ที่มี Plasticizer 40% |
0.1100
0.4000 0.8000
0.0900 0.0400 0.0004 0.0005 0.4000 |
0.2000
0.4000 0.4000
0.0400 0.0400 0.0010 0.0005 0.1000 |
แหล่งที่มา : Andrews, Gordon "Developments in the Packaging of Convenience Foods"
References
บทความที่เกี่ยวข้อง