connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Peanut / ถั่วลิสง

ถั่วลิสง (peanut หรือ grondnut) อาจเรียกว่า ถั่วดิน ถั่วขุดหรือถั่วยี่สง เป็นพืชล้มลุกที่ เป็นพืชไร่ตระกูลถั่ว (Leguminosae)
เช่นเดียวกับถั่วเหลือง และถั่วเขียว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Arachis hypogaea L.เป็นถั่วเมล็ดแห้ง (legume) ซึ่งมีน้ำมันสูง
จัดอยู่ในกลุ่มพืชน้ำมัน (
oil crop) ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ลักษณะทั่วไป

เมล็ดถั่วลิลงอยู่ในฝัก ซึ่งอยู่ใต้ดิน เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศ หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกจะเหี่ยวและร่วง แต่ก้านของรังไข่
ขยายตัวยาวออกไปตามแนวดิ่ง เรียกว่า เข็ม ปลายเข็ม แทงลงไปในดินแล้วจึงพัฒนาเป็นฝัก แต่ละฝักมีเมล็ด 2-4 เมล็ด
ถั่วลิสงต้นหนึ่งเมื่อถอนออกมามีฝักที่สมบูรณ์อยู่จำนวน 8-20 ฝัก

ฝักแก่มีลายเส้นและจะงอยเห็นได้ชัด ฝักคอดกิ่วตามจำนวนเมล็ดในฝัก เมื่อตากให้แห้งแล้วเขย่าจะมีเสียง เยื่อหุ้มเมล็ดมี
หลายสี เช่น สีขาว ชมพู แดง ม่วง และน้ำตาล เมล็ดประกอบด้วยใบเลี้ยงขนาดใหญ่ 2 ใบ ห่อหุ้มต้นอ่อนไว้ภายในถั่วลิสง
มีอายุตั้งแต่ 90-120 วัน (ตามลักษณะของพันธุ์) ผลผลิตถั่วลิสงต่อไร่ได้ มล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วจำนวน 12-15 กิโลกรัม
ต่อไร่ หรือเมล็ดทั้งฝัก 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

ส่วนประกอบทางเคมีของเมล็ดถั่วลิสง

ส่วนประกอบทางเคมีของเมล็ดถั่วเมล็ดแห้ง (กรัมต่อ 100 กรัมของส่วนที่รับประทานได้)

เมล็ดถั่ว

แคลอรี

(cal)

ความชื้น โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต
ถั่วเหลือง (soybean) 335 8 38.0 18.0 4.7 31.3
ถั่วลิสง (peanut) 343 5 25.6 43.4 2.5 23.4
ถั่วเขียว (mungbean) 340 11 23.9 1.3 3.4 60.4
ถั่วแดง (red kidney bean) 341 1 22.1 1.7 3.8 61.4
ถั่วพุ่ม (cowpea, southern pea) 342 11 23.4 1.8 4.3 60.3


 

พันธุ์ถั่วลิสง

พันธุ์ถั่วลิสงที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกได้แก่

  • พันธุ์ลำปาง
  • สุโขทัย 38
  • ขอนแก่น 60-1
  • ขอนแก่น 60-2
  • ขอนแก่น 60-3 มีเมล็ดขนาดใหญ่ แนะนำพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร มีน้ำหนักต่อ 100 เมล็ด ประมาณ 70 กรัม
    เป็นถั่วลิสงพันธุ์หลักในการส่งออกและบริโภคภายในประเทศ
  • พันธุ์ไทนาน 9 มีเมล็ดขนาดเล็ก มีน้ำหนักต่อ 100 เมล็ด เพียง 35-47 กรัม

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวถั่วลิสง

  • ถั่วลิสงจะเก็บเกี่ยวเมื่อฝักสุกแก่ ฝักได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล เก็บเกี่ยวโดยการถอนต้นและฝักขึ้นจากดิน
    เลือกปลิดฝักแก่ออก
  • หลังการเก็บเกี่ยวจะทำการลดความชื้น ด้วยการตากแดด (sun drying) ให้แห้งสนิทโดยเร็ว (มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า
    ร้อยละ 14) เพื่อป้องกันเชื้อราสร้างสารพิษ (
    mycotoxin) โดยเฉพาะ aflatoxin ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในตับ
    สารพิษนี้ผลิต จากเชื้อรา
    Aspergillus flavus และ A. parasiticus การลดความชื้นจะยับยั้งการเจริญของเชื้อราซึ่งผลิต
    สารพิษชนิดนี้
  • การคัด (sorting) โดยเครื่องคัดขนาด (sorter) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับ
    ถั่วลิสงได้ 2 ถึง 3 เท่า (โรงงานผลิตถั่วลิสง คณะเกษตรศาสตร์ มข, 2547)

 

 

 

ปัญหาสารพิษ Aflatoxin

การปนเปื้อน (contamination) ของเชื้อราและ aflatoxin ในถั่วลิสง พบในระยะปลูก ระยะเก็บเกี่ยว ระยะตากแดด ระหว่างการขนส่งและในระหว่างการเก็บรักษาก่อนถึงมือ
ผู้บริโภค ถั่วลิสง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

 

การใช้ประโยชน์จากถั่วลิสง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์เป็นอาหารถั่วลิสง คือ เมล็ด เมล็ดถั่วลิสงมโปรตีนสูง มี โปรตีนร้อยละ 25 และน้ำมันร้อยละ 44-56 (ขึ้นอยู่กับพันธุ์)
น้ำมันถั่วลิสงประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถึงร้อยละ 80 ของน้ำมันทั้งหมด  เป็นแหล่งที่ดีของไบโอติน (biotin) และใยอาหาร (dietary fiber)
กากถั่วลิสงที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว นำไปอบให้แห้งใช้ประกอบเป็นอาหารหรือส่วนผสมของ
อาหารสัตว์ได้

เมล็ดถั่วลิสง ใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  • บีบสกัดได้เป็นน้ำมันถั่วลิสง (peanut oil)
  • แปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วชุบแป้งทอด ถั่วลิสงต้ม ถั่วลิสงทอด ถั่วคั่วทราย ถั่วลิสงทอดคลุกเนย กระยาสารท
    ถั่วลิสงเคลือบ ถั่วตัด ถั่วทอดแผ่น จันอับ ถั่วตุ๊บตั๊บ ถั่วกระจก
  • เนยถั่วลิสง (peanut butter)
  • ผลิตน้ำมันพืช (vegetable oil) คือน้ำมันถั่วลิสง (peanut oil)
  • เป็นส่วนประกอบอาหารอื่นๆ เช่น ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู ถั่วลิสงนึ่งข้าวเหนียวยัดไส้หมู สาคูไส้หมู แกงมัสมั่น น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ
    น้ำพริกรับประทานกับขนมจีนและไส้ขนมชนิดต่างๆ

ถั่วลิสงเป็นอาหารก่อภูมิแพ้ (food allergen) ชนิดหนึ่ง เนื่องจากผู้บริโภคบางคนอาจแพ้โปรตีนในถั่วลิสง

 

Reference

 



(เข้าชม 3,693 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก