connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

citric acid / กรดซิตริก

กรดซิตริก (citric acid) เป็นกรดอินทรีย์ (organic acid) เป็นกรดอ่อน (weak acid) มีสูตรโมเลกุล C6H10O8 พบตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิดได้แก่ พืชตระกูลส้ม (citrus) เช่น ส้ม มะนาว และผลไม้หลายชนิด มะนาวมีกรดซิตริกเป็นส่วนประกอบ 7-9 เปอร์เซ็นต์

กรดซิตริกเคยผลิตจากน้ำมะนาว ปัจจุบันกรดซิตริกส่วนใหญ๋ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus niger โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก คือกากน้ำตาล

- 2-Hydroxy-1,2,3-propane- tricarboxylic acid

การใช้ในอาหาร

กรดซิตริก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่ใช้อย่างกว้างขวางในอาหาร และเครื่องดื่ม

citric acid

สูตรโครงสร้างของ citric acid monohydrate

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์

หน้าที่ในอาหาร

  • กรดซิตริกใช้เพื่อปรับภาวะความเป็นกรดโดยใช้ปรับค่าพีเอชของอาหารให้เป็นอาหารปรับกรด (acidified food) การประมาณ ค่า pH ของกรดซิตริก ที่ความเข้มข้นต่างๆ ดูได้จาก http://www.sensorex.com/support/educ...alculator.htmlตัวอย่างเช่น สารละลายกรดซิตริกความเข้มข้น 5%มีค่าพีเอชเท่ากับ 1.87
  • ปรุงแต่ง กลิ่นรส (flavoring agent) ปรับให้อาหารมีรสเปรี้ยว ใช้ในเครื่องปรุงรส (seasoning) ลูกอม ลูกกวาดacid regulator
  • เป็นสารกันหืน (antioxidant)
  • เป็นสารกันเสีย (preservative)
  • เป็นสารจับโลหะ (chelating agent)
  • เป็นสารทำความสะอาด (cleaning agent)

ปริมาณที่ใช้ในอาหาร 1

อาหาร

ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) เว้นแต่ได้ระบุปริมาณเฉพาะไว้แล้ว

มะกอกดอง

- 15,000

อาหารเสริมสำหรับเด็กชนิดแป้ง

- 25,000 คำนวณในสภาพที่ปราศจากน้ำ

โพรเซสชีส (processed cheese)

- 40,000 ใช้อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับสารกลุ่มฟอสเฟต และปริมาณฟอสเฟตต้องไม่เกิน 9,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นฟอสฟอรัส

ผลิตภัณฑ์นม ยกเว้น นมจืดชนิดเหลว นมเปรี้ยวไม่ปรุงแต่ง ครีมพาสเจอไรซ์ ครีมสเตอริไลส์ ครีมยูเอชที วิปปิ้งครีม ครีมไขมันต่ำ และโพรเซสชีส

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผสมน้ำมัน (อิมัลชัน) เช่น เนยเทียม มินารีน รวมทั้งขนมหวานทำนองนี้

- ปริมาณที่เหมาะสม

ไอศกรีม

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น ผลไม้แห้ง ผลไม้ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง (canning) ขนมหวานจากผลไม้ เป็นต้น

- ปริมาณที่เหมาะสม

พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่าง ๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น พืชผักแห้ง พืชผักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง พืชผักแช่เยือกแข็ง เป็นต้น ยกเว้นมะกอกดอง

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง เป็นต้น

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดธัญพืช (cereal grain) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอาหารเช้า ขนมหวานจากธัญพืช แป้งสำหรับชุบอาหารทอด และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เช่น ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมพาย เป็นต้น

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์เนื้อ ยกเว้นเนื้อสด

- ปริมาณที่เหมาะสม

สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ยกเว้นสัตว์น้ำสดและสัตว์น้ำเยือกแข็ง

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ไข่ ยกเว้นไข่สด ไข่เหลว และไข่เยือกแข็ง

- ปริมาณที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ประเภทซอส ซุป สลัด และผลิตภัณฑ์โปรตีนสกัด

- ปริมาณที่เหมาะสม

อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

- ปริมาณที่เหมาะสม

เครื่องดื่ม ยกเว้นน้ำแร่ธรรมชาติ ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดชงและเครื่องดื่มจากธัญพืช

- ปริมาณที่เหมาะสม

อาหารทารก

- ปริมาณที่เหมาะสม

Reference

1 ตารางการใช้วัตถุเจือปนอาหาร แนบท้ายประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547



(เข้าชม 17,444 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก