benzoic acid หรือ กรดเบนโซอิก มีชื่ออื่นว่า benzene carboxylic acid หรือ phenyl carboxylic acid มีสูตรโมเลกุล C6H5COOH เป็นกรดอ่อนในอาหาร และใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) เพื่อเป็นสารกันเสีย (preservative)
กรดเบนโซอิก ธรรมชาติพบในต้น Chinese Balsam tree เรียกว่า กัมเบนโซอิก (gum benzoin) ซึ่งมีกรดเบนโซอิก13-20% และพบปริมาณเล็กน้อยในผลไม้ตามธรรมชาติ เช่น ลูกพรุน แครนเบอรี่ อบเชย และกานพลู
กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต เป็นวัตถุกันเสียที่มีประวัติการใช้มานานในปี พ.ศ.2487 (ค.ศ.1875) ได้ใช้กรดเบนโซอิกเพื่อทดแทนการใช้กรดซาลิซิลิก กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอตที่จำหน่ายในท้องตลาดจะอยู่ในรูปผงผลึกหรือเป็นเกล็ดสีขาว มีน้ำหนักโมเลกุล 121.11 มีจุดหลอมเหลว122 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 249 องศาเซลเซียส สำหรับในรูปของกรดนั้นจะละลายในน้ำได้น้อยมาก แต่จะละลายได้ดีขึ้นในแอลกอฮอล์ อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม และน้ำมัน
ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอตจะสูงที่สุดที่ช่วงความเป็นกรด มีค่า pH 2.5-4.0 และจะมีประสิทธิภาพสูงในรูปของกรดที่ไม่แตกตัวจึงเหมาะที่จะใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเป็นกรดสูง (acid food) หรือมีความเป็นกรด-ด่างต่ำ ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ทั้งชนิดที่อัดคาร์บอนไดออกไซด์และไม่อัดคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำหวานชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic beverage) แยม เยลลี่ ผัก ผลไม้ดอง (pickle) น้ำสลัด ฟรุตสลัด และ มาการีนเป็นต้น
ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต วัตถุกันเสียชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ ซึ่งมีผลต่อผนังเซลล์และเอนไซม์ของจุลินทรีย์ โดยเบนโซเอตจะไปทำให้กระบวนการแทรกซึมของอาหารเข้าไปในเซลล์ของจุลินทรีย์ผิดปกติไป ในขณะเดียวกันจะยับยั้งการสร้างเอนไซม์บางชนิดและปฏิกิริยาการทำงานของเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญต่อไปได้
ชนิดของกรดเบนโซอิก และเกลือของกรดเบนโซอิก (benzoate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) ในอาหาร
E-number | ชือ |
E210 | Benzoic acid |
E211 | Sodium benzoate |
E212 | Potassium benzoate |
E213 | Calcium benzoate |
E214 | Ethyl p-hydroxybenzoate |
E215 | Sodium ethyl p-hydroxybenzoate |
E218 | Methyl p-hydroxybenzoate |
E219 | Sodium methyl p-hydroxybenzoate |
ปริมาณของกรดเบนโซอิกที่อนุญาติให้ใช้ได้ในอาหาร
อาหาร |
ปริมาณที่อนุญาติให้ใช้ (ppm, มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก) |
ขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง หรือผสม ผลไม้ เป็นต้น |
300 |
เนยเทียม (magarine) |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์น้ำผสมน้ำมัน (emulsion) ที่มีปริมาณน้ำมันต่ำกว่าร้อยละ 80 เช่น มินารีน |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (emulsion) อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน ที่ใช้แต่งหน้าขนม เป็นต้น |
1,000 |
ขนมหวานที่ทำจากไขมันอื่นที่มิใช่ไขมันนม เช่น ไอศกรีมดัดแปลง เป็นต้น |
1,000 |
ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ |
1,000 |
แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผลไม้ ยกเว้น แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด |
1,000 |
ผลไม้กวน |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผลไม้บด ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ราดหน้า และรวมทั้งกะทิ |
1,000 |
ขนมหวานที่ทำจากผลไม้ เช่น ขนมเยลลี่ เป็นต้น และรวมทั้งขนมหวานชนิดน้ำที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบ เช่น ผลไม้ลอยแก้ว เป็นต้น |
1,000 |
ผลไม้ดอง |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ทำไส้ขนม |
1,000 |
ผลไม้ปรุงสุกหรือผลไม้ทอด |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์ผักหรือสาหร่ายในน้ำส้มสายชู น้ำเกลือ หรือซีอิ๊ว (soy sauce) |
2,000 |
ผลิตภัณฑ์ป้ายขนมที่ทำจากผัก หรือถั่ว หรือ เมล็ดพืชอื่นๆ เช่น เนยถั่ว |
1,000 |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผักบด ถั่วบด หรือเมล็ดพืชบด เช่น ซอสผัก ผักกวนหรือแช่อิ่ม เป็นต้น แต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้ายขนม เช่น เนยถั่ว เป็นต้น |
3,000 |
ผักดอง |
1,000 |
ผัก หรือสาหร่ายปรุงสุกและผัก หรือสาหร่ายทอด |
1,000 |
ซุปและซุปใส |
500 |
200 |
References
http://www.thaitox.org/knowledge/detail.php?section=8&category=7&id=8