อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หมายถึงอาหารที่ใช้เฉพาะเพื่อควบคุมหรือลดน้ำหนัก เป็นอาหารที่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักใช้กินแทนอาหารที่ใช้กินตามปกติใน 1 มื้อ หรือมากกว่า 1 มื้อ หรือแทนอาหารทั้งวัน
1) มีพลังงานระหว่าง 200-400 กิโลแคลอรี (836-1,672 กิโลจูล) ต่อการรับประทาน 1 มื้อ
2) มีพลังงานที่ได้จากสารโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และไม่เกินร้อยละ 50 ของพลังงานทั้งหมด
3) โปรตีนที่มีอยู่จะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าเคซีน
(ก) ในกรณีที่จะใช้สารโปรตีนอื่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เทียบเท่ากับเคซีน สารโปรตีนที่ใช้นั้นต้องมีอัตราส่วนของโปรตีนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Protein Efficiency Ratio, PER) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของเคซีน และจะต้องปรับคุณภาพของโปรตีนดังกล่าวให้มีคุณค่าเทียบเท่าเคซีน
(ข) การเติมกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของโปรตีน อาจทำได้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวและต้องเป็นกรดแอมิโนแบบแอล ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย
4) มีพลังงานที่ได้จากสารไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด และต้องมาจากกรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ในรูปของกลีเซอไรด์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของพลังงานทั้งหมด
5) มีสารคาร์โบไฮเดรตซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาล และ/หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) ไม่เกินร้อยละ 30 ของน้ำหนัก ยกเว้นอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักชนิดเหลว
6) มีวิตามินชนิดต่างๆ ต่อ 1,000 กิโลแคลอรี (4,180 กิโลจูล) ในปริมาณดังต่อไปนี้
(ก) วิตามินเอ (viatmin A) ไม่น้อยกว่า 5,000 หน่วยสากล หรือเบตา-แคโรทีน (β -carotine) ในปริมาณที่เทียบเท่า
(ข) วิตามินอี (vitamin E) ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยสากล
(ค) วิตามินซี (vitamin C) ไม่น้อยกว่า 60 มิลลิกรัม
(ง) วิตามินบี 1 (vitamin B1) ไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิกรัม
(จ) วิตามินบี 2 (vitamin B2) ไม่น้อยกว่า 1.7 มิลลิกรัม
(ฉ) ไนอะซีน (niacin) ไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัม
(ช) วิตามินบี 6 (vitamin B6) ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม
(ซ) วิตามินบี 12 (vitamin B12) ไม่น้อยกว่า 6 ไมโครกรัม
(ฌ) กรดโฟลิก (folic acid) ไม่น้อยกว่า 0.4 มิลลิกรัม
(ญ) ไบโอติน (biotin) ไม่น้อยกว่า 0.3 ไมโครกรัม
(ฎ) กรดแพนโททีนิกไม่น้อยกว่า 10 มิลลิกรัม
7) มีเกลือแร่ชนิดต่างๆ ต่อ 1,000 กิโลแคลอรี่ (4,180 กิโลจูล) ในปริมาณดังต่อไปนี้
(ก) แคลเซียม ไม่น้อยกว่า 1 กรัม
(ข) ฟอสฟอรัส ไม่น้อยกว่า 1 กรัม
(ค) ธาตุเหล็ก ไม่น้อยกว่า 18 มิลลิกรัม
(ง) ไอโอดีน ไม่น้อยกว่า 150 ไมโครกรัม
(จ) แมกนีเซียม ไม่น้อยกว่า 400 มิลลิกรัม
(ฉ) ทองแดง ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม
(ช) สังกะสี ไม่น้อยกว่า 15 มิลลิกรัม
(ซ) โพแทสเซียม ไม่น้อยกว่า 1.2 กรัม
(ฌ) แมงกานีส ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม
(ญ) โซเดียม ไม่น้อยกว่า 1 กรัม
2 อาหารที่ผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักใช้กินแทนอาหารบางส่วน ได้แก่
(ก) อาหารที่ถูกลดพลังงาน
(ข) อาหารที่ให้พลังงานต่ำ
วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ให้รสหวานจัด และวัตถุที่ได้จากการผสมระหว่างวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ให้รสหวานจัดกับวัตถุอื่น ซึ่งเมื่อรวมรสหวานเข้าด้วยกันแล้วมากกว่าน้ำตาลทรายในปริมาณเท่ากัน
อาหารที่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักใช้กินแทนอาหารบางส่วนต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีกลิ่นรสตามลักษณะเฉพาะของอาหารนั้น
(2) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 8 ของน้ำหนัก สำหรับอาหารชนิดแห้ง
(3) ไม่มีฮอร์โมนหรือสารปฏิชีวนะ
(4) ไม่มียีสต์และเชื้อรา
(5) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen)
(6) ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์หรือสารเป็นพิษอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตราย
References
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 121 พ.ศ. 2532 เรื่องอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก